ธาตุเหล็ก (Iron) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดง และในไมโอโกลบินของเซลล์กล้ามเนื้อ ธาตุเหล็กมีความสำคัญในการป้องกันและรักษาภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) ที่ส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ข้อบ่งใช้
ธาตุเหล็กใช้ทำอะไร
ธาตุเหล็ก (Iron) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง พบในฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดง และในไมโอโกลบินของเซลล์กล้ามเนื้อ ธาตุเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นในการลำเลียงออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ธาตุเหล็กยังมีหน้าที่สำคัญอื่น ๆ ในร่างกายเช่นกัน คนเรารับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันและรักษาภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) ที่ส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีประโยชน์ ดังนี้
- สริมร่างกายและรักษาโรคสมาธิสั้น
- แผลร้อนใน
- รักษาโรคโครห์น (Crohn’s disease)
- โรคซึมเศร้า
- อาการอ่อนแรง
การทำงานของธาตุเหล็ก
ไม่มีข้อมูลทางการศึกษาเพียงพอเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมสมุนไพรนี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามมีรายงานการศึกษาค้นคว้าว่า ธาตุเหล็กใช้รักษาภาวะขาดธาตุเหล็ก
ข้อควรระวังและคำเตือน
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ธาตุเหล็ก
ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่
- ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
- ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
- แพ้สารจากธาตุเหล็กหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
- มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่น ๆ
- มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพรนั้น
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานธาตุเหล็กในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ธาตุเหล็กมีอะไรบ้าง
ธาตุเหล็กสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียง ได้แก่ ท้องไส้ปั่นป่วน อาการปวด ท้องร่วงหรือท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน
ไม่ใช่ทุกคนจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงบางอาการที่ไม่มีอยู่ด้านบน หากคุณมีความกังวลใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ
ปฏิกิริยาระหว่างยา
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับธาตุเหล็กมีอะไรบ้าง
ธาตุเหล็กอาจเกิดปฏิกิริยากับยาและอาการทางการแพทย์ที่คุณมีอยู่ ปรึกษากับแพทย์ของคุณก่อนใช้
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับธาตุเหล็ก ได้แก่
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic)
ธาตุเหล็กอาจลดขนาดของยาปฏิชีวนะที่ร่างกายดูดซึม การรับประทานธาตุเหล็กร่วมกับยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจลดประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะบางชนิดได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ รับประทานธาตุเหล็ก 2 ชั่วโมง ก่อนหรือหลังรับประทานยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่อาจทำปฏิกิริยากับยาเควียเซติน ได้แก่ ยาซิโพรฟลอคซาซิน (Ciprofloxacin) ยาอีนอคซาซิน (Enoxacin) ยานอร์ฟลอคซาซิน (Norfloxacin) ยาสพาร์ฟลอคซาซิน (Sparfloxacin) ยาโทรวาฟลอคซาซิน (Trovafloxacin) และยาเกรพาฟลอคซาซิน (Grepafloxacin)
- ยาบีสฟอสโฟรเนต (Bisphosphonates)
ธาตุเหล็กอาจลดขนาดของยากลุ่มบีสฟอสโฟรเนตที่ร่างกายดูดซึม การรับประทานธาตุเหล็กร่วมกับยากลุ่มบีสฟอสโฟรเนต อาจลดประสิทธิภาพของยากลุ่มบีสฟอสโฟรเนต เพื่อป้องกันปฏิกิริยานี้ รับประทานธาตุเหล็กอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนหรือหลังรับประทานยาไบสฟอสโฟรเนตระหว่างวัน
ยาไบสฟอสโฟรเนตบางชนิด ได้แก่ ยาอะเลนโดรเนต (Alendronate) ยาอีทิโดรเนต (Etidronate) ยาริเซโดรเนต (Risedronate) ยาทิลูโดรเนต (Tiludronate) และอื่นๆ
- ยาเลโวโดพา (Levodopa)
ธาตุเหล็ก อาจลดขนาดของยาเลโวโดพาที่ร่างกายดูดซึม การรับประทานธาตุเหล็กร่วมกับยาเลโวโดพา อาจลดประสิทธิภาพของยาเลโวโดพา อย่ารับประทานธาตุเหล็กพร้อมกันกับยาเลโวโดพา
- ยาเลโวไทโรซีน (Levothyroxine)
ยาเลโวไทโรซีน ถูกใช้เพื่อลดประสิทธิภาพการทำงานของต่อมไทรอยด์ ธาตุเหล็ก อาจลดขนาดของยาเลโวไทโรซีนที่ร่างกายดูดซึม การรับประทานธาตุเหล็กร่วมกับยาเลโวไทโรซีน อาจลดประสิทธิภาพของยาเลโวไทโรซีน
ยาบางชนิดที่มีส่วนผสมของยาเลโวไทโรซีน ได้แก่ ยาอาร์มอร์ ไทรอยด์ (Armour Thyroid) ยาอัลโทรซิน (Eltroxin) ยาเอสเทร (Estre) ยายูไทรอซ (Euthyrox) ยาเลโว ที (Levo-T) ยาเลโวทรอยด์ (Levothroid) ยาเลโวซิล (Levoxyl) ยาซินทรอยด์ (Synthroid) ยายูนิทรอยด์ (Unithroid) และอื่นๆ
- ยาเมทิลโดพา (Methyldopa)
ธาตุเหล็กอาจลดขนาดของยาเมทิลโดพาที่ร่างกายดูดซึม การรับประทานธาตุเหล็กร่วมกับยาเมทิลโดพา อาจลดประสิทธิภาพของยาเมทิลโดพา เพื่อป้องกันปฏิกิริยานี้ รับประทานธาตุเหล็กอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ก่อนหรือหลังรับประทานยาเมทิลโดพา
- ยาไมโคฟีโนเลต โมเฟทิล (Mycophenolate Mofetil)
ธาตุเหล็กอาจลดขนาดของยาไมโคฟีโนเลต โมเฟทิลที่ร่างกายดูดซึม การรับประทานธาตุเหล็กร่วมกับยาไมโคฟีโนเลต โมเฟทิล อาจลดประสิทธิภาพของยาไมโคฟีโนเลต โมเฟทิล เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ รับประทานธาตุเหล็กอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังรับประทานยาไมโคฟีโนเลต โมเฟทิล
- ยาเพนนิซิลลามีน (Penicillamine)
ยาเพนนิซิลลามีนใช้รักษาโรควิลสันและข้ออักเสบรูมาตอยด์ ธาตุเหล็กอาจลดขนาดของยาเพนนิซิลลามีนที่ร่างกายดูดซึม และลดประสิทธิภาพของยาเพนนิซิลลามีน เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยานี้ รับประทานธาตุเหล็ก 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังรับประทานยาเพนนิซิลลามีน
- ยาคลอแรมฟีนิคอล (Chloramphenicol)
ธาตุเหล็กมีความสำคัญในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมา ยาคลอแรมฟีนิคอล อาจไปลดการผลิตเซลล์ขึ้นมาใหม่ การรับประทานยาคลอแรมฟีนิคอลเป็นเวลานาน อาจไปลดผลกระทบของธาตุเหล็กต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดมาใหม่ แต่หลายคนรับประทานยาคลอแรมฟีนิคอลในช่วงเวลาสั้น ๆ ดังนั้น ปฏิกิริยาต่อยาตัวนี้จึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยานี้
ปกติควรใช้ธาตุเหล็กในปริมาณเท่าใด
ทางปาก
- ภาวะขาดธาตุเหล็ก ธาตุเหล็ก 50-100 มิลลิกรัม สามครั้งต่อวัน ขนาดยาระหว่าง 30-120 มิลลิกรัม ต่อสัปดาห์ควรนำมาใช้ในผู้หญิง
- สำหรับรักษาเด็กที่เป็นโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก: ขนาดยาคือ 4-6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมต่อวัน แบ่งเป็นสามโดส สำหรับผู้ใหญ่และเด็ก ระยะของการรักษา 2-3 เดือนแก้ไขอาการโลหิตจางได้ แต่ยังอาจไม่สำรองธาตุเหล็กในร่างกายได้เพียงพอ ดังนั้น การรักษามักจะทำต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน เพื่อให้ร่างกายสำรองธาตุเหล็กได้
เพื่อป้องกันภาวะขาดแคลนธาตุเหล็กในเด็ก สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (the American Academy of Pediatrics) แนะนำอาหารเสริมธาตุเหล็กสำหรับบางกลุ่มดังนี้
- สำหรับเด็กทารกที่กินนมแม่ ธาตุเหล็ก 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน แนะนำสำหรับเด็กทารก 4-6 เดือน เด็กทารกตั้งแต่ 6-12 เดือนควรได้รับ 11 มิลลิกรัม/วัน จากอาหารหลักหรืออาหารเสริม
- สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด แนะนำ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน สำหรับปีแรก ควรทำวิธีนี้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าลูกของคุณจะเปลี่ยนไปรับประทานนมผง หรือได้รับธาตุเหล็กจากอาหารอย่างเพียงพอ
- เด็กที่กินนมผงจะได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอจากนมผงสูตรเด็กทารก
- เด็กเล็กวัย 1-3 ปี มักจะได้รับธาตุเหล็กจากอาหารอย่างเพียงพอต่อระดับที่แนะนำในแต่ละวัน 7 มิลลิกรัม/วัน อย่างไรก็ตาม สามารถเพิ่มอาหารเสริมด้วยได้หากต้องการ
เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการคิดในวัยรุ่นที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก
- เฟอรัส ซัลเฟต 650 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน
สำหรับอาการไอที่เกิดจากยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitors
- เฟอรัส ซัลเฟต 256 มิลลิกรัมต่อวัน
ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน (AI) ของธาตุเหล็ก
- สำหรับเด็กทารกวัย 6 เดือนหรือต่ำกว่านั้น คือ 0.27 มิลลิกรัม/วัน
สำหรับเด็กทารกที่อายุมากกว่านั้นและเด็กเล็ก ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้รับในแต่ละวัน (RDAs) สำหรับธาตุเหล็ก คือ
- เด็กทารกวัย 7 ถึง 12 เดือน 11 มิลลิกรัม/วัน
- เด็กเล็กวัย 1 ถึง 3 ปี 7 มิลลิกรัม/วัน
- วัย 4 ถึง 8 ปี 10 มิลลิกรัม/วัน
- วัย 9 ถึง 13 ปี 8 มิลลิกรัม/วัน
- เด็กผู้ชายวัย 14 ถึง 18 ปี 11 มิลลิกรัม/วัน
- เด็กผู้หญิง 14 ถึง 18 ให้รับในแต่ละวันสำหรับธาตุเหล็ก คือ 8 มิลลิกรัม/วัน
สำหรับผู้ใหญ่ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้รับในแต่ละวัน (RDAs) สำหรับธาตุเหล็ก คือ
- ผู้ชายวัย 19 ปีขึ้นไป และผู้หญิงวัย 51 ปีขึ้นไป 8 มก/วัน
- สำหรับผู้หญิงวัย 19 ถึง 50 ปี 18 มิลลิกรัม/วัน
- สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ 27 มิลลิกรัม/วัน
สำหรับผู้หญิงให้นมบุตร
- 10 มิลลิกรัม/วัน สำหรับวัย 14 ถึง 18 ปี
- 9 มิลลิกรัม/วัน สำหรับวัย 19 ถึง 50 ปี
ปริมาณสูงสุดของสารอาหารที่สามารถรับได้ในแต่ละวัน (UL) ที่คาดว่าจะไม่เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ใดๆ คือ
- เด็กแรกเกิดและเด็กทารก จนถึงวัย 13 ปี 40 มิลลิกรัม/วัน
- ผู้ที่มีวัยตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป (รวมถึงผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร) 45 มิลลิกรัม/วัน
- ไม่มีการแนะนำถึงปริมาณสูงสุดของสารอาหารที่สามารถรับได้ในแต่ละวันต่อผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์สำหรับภาวะขาดธาตุเหล็ก
มีอาหารเสริมธาตุเหล็กหลายรูปแบบ ที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็กในระดับที่แตกต่างกันไป
- เฟอรัส กลูโคเนต 1 กรัม = ธาตุเหล็ก 120 มิลลิกรัม (ธาตุเหล็ก 12%)
- เฟอรัส ซัลเฟต 1 กรัม = ธาตุเหล็ก 200 มิลลิกรัม (ธาตุเหล็ก 20%)
- เฟอรัส ฟูมาเรท 1 กรัม = ธาตุเหล็ก 330 มิลลิกรัม (ธาตุเหล็ก 33%)
ปริมาณการใช้ธาตุเหล็ก อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม
รูปแบบของยา
สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้
- ชนิดเม็ดรับประทาน
- ชนิดน้ำ
[embed-health-tool-bmi]